Friday, September 15, 2006

การจัดการกับลูกค้า

เท้าความก่อนคือว่าเรื่องของการคิดราคาค่าออกแบบ วิธีการเก็บเงิน เนี่ยเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะคาใจน้องน้องนิสิตอยู่เกือบทุกคนก็ว่าได้มักจะมีคำถามนี้เสมอๆ สำหรับผมเรื่องการคิดเงินนั้นไม่ยาก ผมใช้วิธีถามไปเลยว่าเค้ามีงบเท่าไหร่ให้เรา หรืองบก่อสร้างเท่าไหร่ แล้วเราก็ประเมินเอาจากนั้น 5% -10% ก็ว่ากันไป หรือไม่ก็เหมาเอา เป็นหมื่นๆ อันนี้แล้วแต่ความพอใจของเรากับลูกค้า แต่ที่ยากกว่าคือพอทำเอามากๆเจอลูกค้าหลายๆเจ้าเราจะทำอย่างไร ที่ยากและพบบ่อยสุดก็คือโดนเบี้ยวซะอย่างงั๊น ที่วันนี้มาพูดเพราพอดีอ่านบทสัมภาษณ์ของฝรั่งคนนึงเลยรู้ว่าเอองฝรั่งมันก็ไม่ต่างกับเรานะ โดนเบี้ยวอยู่บ่อยๆเหมือนกัน

ข้อแรกเลย เราต้องจัดการตัวเราเองซะก่อน เช่นทำการบ้านก่อนว่าเออคนที่มาจ้างเราเค้าอยยากได้งานแบบไหน เป็นคนชอบงานแบบไหน เรียกว่ารู้เค้าให้หมดจะได้ทำงานง่ายขึ้น รวมถึงอาจจะดูไปด้วยว่าประวัติของลูกค้าเราเป็นยังไง น่าเชื่อถือมั๊ย

ข้อสอง เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเมื่องานเราเสร็จเราจะเก็บเงินค่าจ้างได้ ฝรั่งคนนี้บอกเป็นัยๆว่า เฮอะๆๆๆ ต้องเจอเบี้ยวกันทุกคน มากบ้างน้อยบ้างว่ากันไป ทางที่ดีควรจะมีสัญญาว่าจ้างไว้ ซึ่งในนั้นจะต้องบอกความคาดหมายของคู่สัญญาที่คิดว่าจะได้รับ รวมไปถึงระยะเวลาการทำงาน ,ขอบเขตงาน,ค่าธรรมเนียมต่างๆ,ค่าแรง งวดการจ่ายเงิน ฯ เบื้องต้นอาจจะเรียกถึง 30%-50% ของค่าแรงทั้งหมด ทั้งนี้ก็เพื่อทดสอบความตั้งใจของผู้จ้างไปพร้อมๆกับหยังเชิงสถานะทางการเงินด้วย

ข้อที่สาม หลีกเลี่ยงการเสียเวลากับการแก้ไขแบบที่มักไม่จบสิ้นของลูกค้าด้วยการรายงานและสอบถามลูกค้าก่อนทุกขั้นตอนหากไม่มั่นใจ ความจริงเรื่องของการแก้แบบเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยเพราะลูกค้ามักเปลี่ยนใจบ่อย การแก้ไขให้ก็เป็นส่วนหนึ่งของงาน แต่บางครั้งก็อย่าลืมว่าแก้ให้มากขึ้นเงินรายได้ของเราก็ร่อยหลอลงทุกทีๆ

ข้อที่สี่ ลูกค้าเขี้ยว งานหิน จัดการยังไง คำตอบคือซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา และพูดความจริง เพราะบางครั้งลูกค้าอาจจะมีระดับผลงานอยู่แล้วในใจ ควรจะอธิบายว่าความสามารถเราทำได้ขนาดไหน อย่าดันทุรัง ค่อยๆพูดกันไปเพื่อหาจุดที่ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน

ข้อที่ห้า พยายามสนใจว่าลูกค้าพูด หมายความว่าอย่างไร มากกว่าที่จะสนใจว่าลูกค้าพูดว่าอะไร ทั้งนี้ต่างฝ่ายต่างก็มีความเชี่ยวชาญของตัวเองต่างกัน เราในฐานนะที่เป็นผู้มีความชำนาญในการออกแบบก็จะมีมุมองอย่างหนึ่ง ในขณะที่ลูกค้ามีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์มากกว่าเรา ดังนั้นการฟังและจับใจความของแต่ละฝ่ายให้ละเอียดชัดเจนคือทางออกที่ดีทึ่สุด เพื่อการทำงานที่ราบรื่นและได้ผลลัพท์ออกมาเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย

ที่เหลือก็คือประสบการณ์ในการทำงานที่จะมาคอยตัดสินว่างานไหนควรรับ งานไหนไม่ควรรับ เก็บตังอย่างไร พูดยังไงให้ได้โปรเจค นี่แหละที่เค้าเรียกว่าความเก๋ามันต่างกันไปในแต่ละคน

7 comments:

เพนกวิน said...

เป็นเรื่องความรู้ล้วน ๆ ค่ะ

industrial design chulalongkorn said...

excellent article!

every i.d. students should have read.

industrial design chulalongkorn said...

เอาลิ้งค์ไปแปะในเวปบล๊อดไอดีแล้วนะ

พี่จุล 66 said...

ขอบคุณอาจารย์ม่อนมากมากเลยครับที่ช่วยเผยแพร่ให้ครับ
อันนี้เขียนมาในเรื่องใกล้ตัวและเห็นน้องๆชอบถามผมบ่อยๆ เลยเขียนมาให้ครับ รู้สึกว่าทำแล้วมีคนอ่านมีกำลังใจขึ้นเยอะ

น้องๆที่อ่านแล้วสงสัยก็เขียนโพสมาถามได้ครับแลกเปลี่ยนประสบการ์กันได้ หรือจะเขียนเมลมาหาพี่ได้ครับ
chuladid@hotmail.com อ๋อ ช่วยขึ้นเรื่องจดหมายด้วยนะครับจะได้รู้ว่าไม่ใช่ Spam mail
ขอบคุณครับ

nate said...

โห ขอบคุณมากๆเลยฮะ พี่จุล

Netara~

พี่จุล 66 said...

น่ายินดีครับ วันจันทร์ 25 กย.นี้ผมจะได้เข้าไปที่คณะเพื่อพูดคุยเรื่องนี้ให้น้องๆปีห้าที่กำลังจะเรียนจบได้ฟัง หวังว่าประสบการณ์เล็กๆน้อยๆของผมคงช่วยน้องๆได้บ้างครับ เริ่มพูดคุยกันประมาณ 10โมงเช้าถึงเที่ยงครับ ถ้าใครสนใจก็เชิญได้ครับ

Puvanai Dardarananda said...

update ซะทีซี่เพ่

สงสัยมัวแต่ไปทำงานเป็น คณะมนตรีความมั่นคงทางหัวใจเพ็นกวิน อยู่ เลยไม่มีเวลามา update