Friday, September 15, 2006

การจัดการกับลูกค้า

เท้าความก่อนคือว่าเรื่องของการคิดราคาค่าออกแบบ วิธีการเก็บเงิน เนี่ยเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะคาใจน้องน้องนิสิตอยู่เกือบทุกคนก็ว่าได้มักจะมีคำถามนี้เสมอๆ สำหรับผมเรื่องการคิดเงินนั้นไม่ยาก ผมใช้วิธีถามไปเลยว่าเค้ามีงบเท่าไหร่ให้เรา หรืองบก่อสร้างเท่าไหร่ แล้วเราก็ประเมินเอาจากนั้น 5% -10% ก็ว่ากันไป หรือไม่ก็เหมาเอา เป็นหมื่นๆ อันนี้แล้วแต่ความพอใจของเรากับลูกค้า แต่ที่ยากกว่าคือพอทำเอามากๆเจอลูกค้าหลายๆเจ้าเราจะทำอย่างไร ที่ยากและพบบ่อยสุดก็คือโดนเบี้ยวซะอย่างงั๊น ที่วันนี้มาพูดเพราพอดีอ่านบทสัมภาษณ์ของฝรั่งคนนึงเลยรู้ว่าเอองฝรั่งมันก็ไม่ต่างกับเรานะ โดนเบี้ยวอยู่บ่อยๆเหมือนกัน

ข้อแรกเลย เราต้องจัดการตัวเราเองซะก่อน เช่นทำการบ้านก่อนว่าเออคนที่มาจ้างเราเค้าอยยากได้งานแบบไหน เป็นคนชอบงานแบบไหน เรียกว่ารู้เค้าให้หมดจะได้ทำงานง่ายขึ้น รวมถึงอาจจะดูไปด้วยว่าประวัติของลูกค้าเราเป็นยังไง น่าเชื่อถือมั๊ย

ข้อสอง เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเมื่องานเราเสร็จเราจะเก็บเงินค่าจ้างได้ ฝรั่งคนนี้บอกเป็นัยๆว่า เฮอะๆๆๆ ต้องเจอเบี้ยวกันทุกคน มากบ้างน้อยบ้างว่ากันไป ทางที่ดีควรจะมีสัญญาว่าจ้างไว้ ซึ่งในนั้นจะต้องบอกความคาดหมายของคู่สัญญาที่คิดว่าจะได้รับ รวมไปถึงระยะเวลาการทำงาน ,ขอบเขตงาน,ค่าธรรมเนียมต่างๆ,ค่าแรง งวดการจ่ายเงิน ฯ เบื้องต้นอาจจะเรียกถึง 30%-50% ของค่าแรงทั้งหมด ทั้งนี้ก็เพื่อทดสอบความตั้งใจของผู้จ้างไปพร้อมๆกับหยังเชิงสถานะทางการเงินด้วย

ข้อที่สาม หลีกเลี่ยงการเสียเวลากับการแก้ไขแบบที่มักไม่จบสิ้นของลูกค้าด้วยการรายงานและสอบถามลูกค้าก่อนทุกขั้นตอนหากไม่มั่นใจ ความจริงเรื่องของการแก้แบบเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยเพราะลูกค้ามักเปลี่ยนใจบ่อย การแก้ไขให้ก็เป็นส่วนหนึ่งของงาน แต่บางครั้งก็อย่าลืมว่าแก้ให้มากขึ้นเงินรายได้ของเราก็ร่อยหลอลงทุกทีๆ

ข้อที่สี่ ลูกค้าเขี้ยว งานหิน จัดการยังไง คำตอบคือซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา และพูดความจริง เพราะบางครั้งลูกค้าอาจจะมีระดับผลงานอยู่แล้วในใจ ควรจะอธิบายว่าความสามารถเราทำได้ขนาดไหน อย่าดันทุรัง ค่อยๆพูดกันไปเพื่อหาจุดที่ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน

ข้อที่ห้า พยายามสนใจว่าลูกค้าพูด หมายความว่าอย่างไร มากกว่าที่จะสนใจว่าลูกค้าพูดว่าอะไร ทั้งนี้ต่างฝ่ายต่างก็มีความเชี่ยวชาญของตัวเองต่างกัน เราในฐานนะที่เป็นผู้มีความชำนาญในการออกแบบก็จะมีมุมองอย่างหนึ่ง ในขณะที่ลูกค้ามีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์มากกว่าเรา ดังนั้นการฟังและจับใจความของแต่ละฝ่ายให้ละเอียดชัดเจนคือทางออกที่ดีทึ่สุด เพื่อการทำงานที่ราบรื่นและได้ผลลัพท์ออกมาเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย

ที่เหลือก็คือประสบการณ์ในการทำงานที่จะมาคอยตัดสินว่างานไหนควรรับ งานไหนไม่ควรรับ เก็บตังอย่างไร พูดยังไงให้ได้โปรเจค นี่แหละที่เค้าเรียกว่าความเก๋ามันต่างกันไปในแต่ละคน

Saturday, September 09, 2006

ข่าวฝากประชาสัมพันธ์คร๊าบ


สำหรับเพื่อนที่สนใจจะเข้าร่วม International Conference เรื่อง Design, Brand & Innovation +กระทบไหล่ Karim Rashid, Jimmy Choo, Ron Arad, Peter Zec,...etc. มั๊ย? 29 Nov.- 1 Dec. 2006 ที่ HongKong Design Centre ภาควิชาฯได้รับความร่วมมือจาก HongKong Trade Development Council ได้ rate พิเศษสำหรับเข้าฟัง conference ก็เลยอยากจะเชิญชวนศิษย์เก่า (รวยๆ, น่ารักๆ) ร่วมกิจกรรมดีๆกับอาจารย์และน้องๆนิสิตปัจจุบัน ช่วยบอกต่อด้วยนะ หากใครสนใจ....นี่เลย รายละเอียด (อ่านเอาเอง) http://www.bodw.com.hk/eng/internationalConference.php +แจ้งความประสงค์ได้ที่ ภาควิชาฯ (คุณสำเนา) 02 2184499 หรือ อ.โสม 081 8300925, 081 4445410 หรือ อ.พงศ์พันธ์ 081 4204016 หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายทั้งหมดกำลัง work out อยู่ ขึ้นอยู่กับจำนวนคน เพราะฉะนั้นรีบหน่อยนะจ้ะ


อีกอันเป็นไปตามภาพเลยจ๊า ศิลปากรเค้าฝากมา

Wednesday, July 26, 2006

เพราะ(มัน)สวยกว่า(มัน)เลยเจ๋งกว่า..ซะงั๊น!!!

กลับมาอีกครั้งกับอาทิตย์นี้ หลังจากถูกถล่มด้วยอีเมลและงานดีไซน์ที่มาจนปวดหัววันนี้ก็ได้ฤกษ์ที่ กกต จะเข้าคุก เอ้ย ไม่ใช่ซิ ต้องเป็นฤกษ์ที่จะอัพเดทบล๊อกของเราซักที, จากหนังสือเล่มนี้เค้าได้วางเรื่องของEMO Design ออกเป็นสองส่วนใหญ่ นั่นคือส่วนแรกคือการเรียนรู้ความหมายของสิ่งนั้นนั้น และส่วนที่สองคือขั้นของการฝึกปฏิบัติ ไม่เสียเวลาเรามาเริ่มกันที่ส่วนแรกเลยดีกว่า นั่นก็คือ ความหมายของสิ่งนั้นนั้น เริ่มต้นจากการที่คุณจะต้องรู้หลัก สองคำคือ
1.ของที่ดึงดูด สายตา ดึงดูดความสนใจได้มากกว่า ย่อมมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีกว่า
2.ลักษณะและระดับขึ้นที่หลากหลายของอารมณ์ และการออกแบบ

1.ของที่ดึงดูด สายตา ดึงดูดความสนใจได้มากกว่า ย่อมมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีกว่า (สวยกว่าย่อมเจ๋งกว่า ซะงั๊น..)
เรื่องราวของของสวยๆงามงามมีคนตั้งคำถามมากมายเช่นนักวิทยาศาสตร์อิสราเอล ตั้งข้อสังเกตุว่า "แน่นอนว่าของที่สวยกว่าย่อมได้รับความนิยมมากกว่า แต่เขากลับไม่เข้าใจว่าทำไมของที่สวยกว่าเหล่านั้นจึงเจ๋งกว่า ทำงานได้ดีกว่า" คำตอบนี้ได้รับการทดสอบโดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่น โดยการศึกษาจากเครื่องATM ตามธนาคารสองแบบที่เหมือนกันทุกอย่างในการออกแบบทั้งเลยเอาท์การวางปุ่มกด โปรแกรมและวิธีการใช้งาน จะต่างกันก็คงจะเป็นที่อันหนึงเป็นปุ่มที่ชัดเจน แต่อีกอันเป็นจอ Touch screen ซึ่งก็แน่ละว่าจอที่ว่าย่อมสวยกว่าแบบกดปุ่มเป็นไหนๆ จากการสัมภาษณ์ผู้ใช้ไม่น่าเชื่อเลยว่า ผู้ใช้ตอบตรงกันว่าเครื่องที่เป็นแบบจอทัชกรีนทำงานได้ดีกว่าง่ายกว่าเครื่องที่เป็นปุ่ม ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว ทั้งคู่ต่างมีพื้นฐานการทำงานอย่างเดียวกันและPlatform เดียวกัน
ไม่ว่าเค้าจะทดสอบที่ญี่ปุ่นหรือที่อิสราเอล ที่ที่คนมีแนวความคิดต่างกันไปอย่างไร คำตอบก็ยังเป็นคำเดิมว่า ความสวยงามกับฟังค์ชั่นการใช้งานนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างประหลาดและยากจะคาดเดาหรืออธิบายได้ นักทฤษฎีทางศิลปะบางคนเคยกว่าวว่า มันคงมีปัจัยที่เป็นความลับอะไรบางอย่างที่ทำให้ความสวยงามมีผลต่อความรู้สึกของการใช้งานของมนุษย์แน่นอนและสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นเป็นปรกติวิสัยในชีวิตประจำวันของเราซะด้วย เอาเป็นว่ามาถึงตรงนี้แล้ว เราคงต้องยอมรับแล้วละว่า "ของที่สวยกว่ามันย่อมทำให้รู้สึกว่ามันทำงานได้ดีกว่าเสมอ" แล้วเดี๋ยวผมจะกลับมาเล่าต่อว่า เค้ามีการทดลองและบทสรุปของทฤษฎีนี้ว่าอย่างไร แต่ตอนนี้ผมมีคำถามในใจ ว่าเอ๊ะถ้าเราหล่อกว่านี้เราจะดูเจ๋งกว่าปัจจุบันนี้มั๊ยน๊า ฮ่าๆๆ


Wednesday, July 12, 2006

Emotional design



โฉมหน้าปกหนังสือที่ตอนนี้ผมกำลังอ่านอยู่

กาน้ำทั้งสาม

Tuesday, July 11, 2006

ซื้อมาไม่ค่อยได้ใช้ แต่วางโชว์ไว้ อวดแม่ยาย

เรื่องของ Emotional Design ต่อจากนี้ผมจะพิมพ์แค่คำว่า EMO แล้วกันนะ ความจริงแล้วก็เป็นเรื่องที่มีมานานแล้วก็ว่าได้ จำได้ว่าผมเคยได้ยินครั้งแรกจากเพื่อนที่ไปทำงานที่สิงค์โปร์แล้วเอ็มเอสเอ็นมาถามผมว่าผมรู้จักมั๊ยประเด็นนี้คำตอบคือผมน่ะไม่รู้จักหรอกสุดท้ายเลยเป็นสาเหตุให้ผมต้องไปค้นหามาด้วยความอยากรู้ส่วนตัว เริ่มเรื่องนั้นเค้ากล่าวไว้แสนง่ายแต่เข้าใจได้ในทั้นทีว่าเรื่องที่เราจะพูดนี้คืออะไร เค้าถามว่า " เคยสงสัยไหม ทำไมไวน์ห่วยๆราคาถูกๆถึงได้รสชาติดีเมื่อเวลาที่อยู่ในแก้วที่หรูๆ " "รถเก่าๆพอล้างให้สะอาดเข้าหน่อยมันดูวิ่งได้ดีขึ้น" หนังสือเล่มนี้แหละที่จะเป็นกุญแจที่ไขไปสู่คำว่าทำอย่างไรที่จะทำให้งานดีไซนืของเราไม่ได้เป็นแค่ของใช้งานที่ดี แต่ยังมีคุณค่าและความรู้สึกที่มีต่อผู้ใช้ประหนึ่งว่ามันดีขึ้นเจ๋งขึ้นนั่นเอง
เนื้อเรื่องของบทแรก Norman ได้กล่าวถึงของสามอย่างที่เค้ามีสะสมไว้ในบ้านของเค้านั่นก็คือ กาน้ำชา ชิ้นแรกเป้นกาน้ำชาที่เค้าเรียกว่า Impossible teapot ที่เป็นเช่นนั้นก็คงจะเพราะว่ามันมีหูกาอยู่ข้างเดียวกับพวยกานั่นเอง มันเป็นกาน้ำที่ไม่สามารถใช้งานได้เลย ชื่อของมันจริงๆคือ Coffee pot for Masochists ถ้าแปลไม่ผิดคงแปลว่า กาน้ำของผู้นิยมความเจ็บปวด เป็นยังไงก็คงเข้าใจกันดี ส่วนชิ้นที่สองเป็นกา Nanna ที่ออกแบบโดย michael grave สถาปนิกชื่อดังที่สวยและพอจะใช้งานได้ ส่วนสุดท้ายเป็นกาน้ำที่สุดแสนจะฟังค์ชั่น ของ Ronnefeldt ที่ราวกับว่าถูกออกแบบมาเพื่อความสมบูรณ์แบบในการชงชาชั้นสูงเพราะการใช้งานซับซ้อนกว่ากาธรรมดามากมาก คำถามคือปรกติแล้ว Norman ใช้กาอันไหนบ่อยที่สุด และคำตอบก็คือ ไม่ใช้เลยซักอันเดียว ที่เป็นเช่นนนี้ก็เพราะว่า ตัวเค้าเองต้องดื่มชาทุกเช้าและสิ่งที่เค้าต้องการมากที่สุดก็คือ ประสิทธิภาพ ดังนั้นเค้าจึงใช้กาต้มน้ำไฟฟ้า รินน้ำลงในถ้วยที่มีใบชาอยู่ในลูกบอลกรองชา แค่นี้ก็ได้ดื่มชาร้อนๆที่ง่าย สะดวกรวดเร็ว และทำความสะอาดง่าย แต่กลับกันที่เค้าดันตั้งกาน้ำทั้งสามโชว์ไว้ในที่ที่เห็นชัดที่สุดในบ้าน ทั้งๆที่เค้าไม่ได้ใช้มันเลย ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเค้าให้คุณค่ากับกาน้ำทั้งสามใบไม่ใช่เรื่องประเด็นของการชงชา แต่เป็นประเด็นของความสวยงามที่ประหนึ่งว่าเป็นปฏิมากรรมนั่นเอง จะใช้จริงๆก็คงจะเป็นตอนที่มีแขกคนสำคัญมาที่บ้านและมีเวลา ต้องการจะโชว์จุดเด่นต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องความงามหรือเรื่องการออกแบบที่ชาญฉลาดก็เท่านั้น ใจความสำคัญเลยก็คือ ดีไซน์นั้นมีความสำคัญกับผู้ใช้ก็จริง แต่นั่นขึ้นอยุ่กับ โอกาส บริบทในการใช้งาน และที่สำคัญเหนืออื่นใด ก็คือขึ้นกับอารมณ์และความรู้สึก ณ เวลานั้นของผู้ใช้นั่นเอง แน่นอนว่าของบางชิ้นเราไม่ได้แค่ใช้งานมันอย่างเดียว แต่บางครั้งเรามีความสุขร่วมเมื่อได้ใช้ ได้ทำให้ผู้ใช้คิดไปถึงเรื่องราวต่างๆนานา ในเรื่องของการดีไซน์นั้น ดีไซนเนอร์เองจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ กระบวนการผลิต การตลาด ราคาและความเหมาะสมในการใช้งานด้วย แต่ดีไซน์เนอร์ส่วนใหญ่มักลืมคิดไปว่า สิ่งของต่างๆนั้นล้วนแล้วแต่มีองค์ประกอบของอารมณ์และความรู้สึกที่มันมีต่อผู้ใช้อยู่ด้วยและในหนังสือเล่มนี้ยังกล่าวว่าบางทีองค์ประกอบด้านอารมณ์และความรู้สึกนี้เองที่เป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จของสิ่งของชิ้นนั้นๆในตลาดมากกว่าการใช้งานซะอีก ++ เล่ามาถึงตรงนี้แล้วทำให้ผมคิดถึงคำพูดหนึ่งที่เคยมีกล่าวไว้ในหนังสือรวมผลงานของPhillip Stark ที่เค้ากล่าวไว้ว่า ที่คั้นน้ำส้มสุดดังของเค้านั้นมันใช้งานไม่ค่อยได้หรอก ใช้แล้วมันก็หกเลอะเทอะกระเด็นไปหมด แต่คนที่ซื้อมันมากที่สุดคือลูกเขยที่อยากจะซื้อไว้ตั้งโชว์เพื่อไว้ไว้อวดจะได้มีเรื่องไว้คุยกับเเม่ยายของเค้าเท่านั้นแหละ+++ ดูดูไปก็คงจะจริงอย่างที่ Phillip ว่าไว้

ปฐมบทแห่ง อีโมชั่นแนลดีไซน์

ขอเกริ่นซักนิดนึงก่อนว่า ผมเคยได้อ่านหนังสือของ คุณ Donald A. Norman (http://www.jnd.org/) มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อตอนสมัยที่ผมทำ Individual study ตอนปีห้า หนังสือเล่มนั้นเป็นเล่มที่เรียกได้ว่าเป็นคัมภีร์ของการออกแบบผลิตภัณฑ์ของผมเลยก็ว่าได้ เพราะทำให้เข้าใจที่มาที่ไปของการออกแบบมากขึ้นเยอะ เสียดายมากที่ผมไม่ได้ซื้อมาเก็บไว้ หนังสือเล่มนั้นชื่อว่า The design of everyday thing คุณสามารถจะหาดูได้ ที่ร้านเอเซียบุ๊ค ราคาไม่น่าจะแพงมากนัก เพียงแต่ว่าเอเซียบุ๊คจัดมันไว้ผิดที่ผิดทางไปหน่อยคือเค้าดันไปจัดไว้ในหมวดของหนังสือหมวดเกี่ยวกับการทำธุรกิจ เช่นเดียวกับหนังสือเล่มที่ผมกำลังจะอ่านและแปลอยุ่นี้ Emotional Design " Why we love(or hate) everyday things"ก็ดันถูกจัดอยุ่ในหมวดนั้นด้วยเช่นกัน สงสัยว่าคนจัดหมวดหนังสือเห็นว่ามันเป็นText book ที่ไม่มีภาพสีสวยๆล่ะมัง อ๋อว่าต่ออีกนิดเนื้อเรื่องทั้งหมดที่กำลังจะเขียนเป็นเรื่องที่ผมอ่านแล้วเข้าใจและพยายามที่จะถ่ายทอดออกมา เป็นภาษาของผมเอง เพราะฉะนั้นนี่ไม่ใช่การแปลหนังสือให้อ่านนะครับ เอาเป็นว่าเดี๋ยวเราก็มาเริ่มกันได้เลย

Monday, June 19, 2006

intro to block_p_jul IDCU66

ฮ่าๆๆ ยังใช้ไม่เป็นเลย แต่จะพยายยาม กะว่าจะเอาไว้เขียนข้อความเกี่ยวกับดีไซน์ให้น้องๆอ่าน จะได้ช่วยเอาสมองและข้อมูลออกจากหัวเราไปทีเผื่อจะมีประโยชน์กับคนอื่นเค้าบ้าง