Tuesday, July 11, 2006

ซื้อมาไม่ค่อยได้ใช้ แต่วางโชว์ไว้ อวดแม่ยาย

เรื่องของ Emotional Design ต่อจากนี้ผมจะพิมพ์แค่คำว่า EMO แล้วกันนะ ความจริงแล้วก็เป็นเรื่องที่มีมานานแล้วก็ว่าได้ จำได้ว่าผมเคยได้ยินครั้งแรกจากเพื่อนที่ไปทำงานที่สิงค์โปร์แล้วเอ็มเอสเอ็นมาถามผมว่าผมรู้จักมั๊ยประเด็นนี้คำตอบคือผมน่ะไม่รู้จักหรอกสุดท้ายเลยเป็นสาเหตุให้ผมต้องไปค้นหามาด้วยความอยากรู้ส่วนตัว เริ่มเรื่องนั้นเค้ากล่าวไว้แสนง่ายแต่เข้าใจได้ในทั้นทีว่าเรื่องที่เราจะพูดนี้คืออะไร เค้าถามว่า " เคยสงสัยไหม ทำไมไวน์ห่วยๆราคาถูกๆถึงได้รสชาติดีเมื่อเวลาที่อยู่ในแก้วที่หรูๆ " "รถเก่าๆพอล้างให้สะอาดเข้าหน่อยมันดูวิ่งได้ดีขึ้น" หนังสือเล่มนี้แหละที่จะเป็นกุญแจที่ไขไปสู่คำว่าทำอย่างไรที่จะทำให้งานดีไซนืของเราไม่ได้เป็นแค่ของใช้งานที่ดี แต่ยังมีคุณค่าและความรู้สึกที่มีต่อผู้ใช้ประหนึ่งว่ามันดีขึ้นเจ๋งขึ้นนั่นเอง
เนื้อเรื่องของบทแรก Norman ได้กล่าวถึงของสามอย่างที่เค้ามีสะสมไว้ในบ้านของเค้านั่นก็คือ กาน้ำชา ชิ้นแรกเป้นกาน้ำชาที่เค้าเรียกว่า Impossible teapot ที่เป็นเช่นนั้นก็คงจะเพราะว่ามันมีหูกาอยู่ข้างเดียวกับพวยกานั่นเอง มันเป็นกาน้ำที่ไม่สามารถใช้งานได้เลย ชื่อของมันจริงๆคือ Coffee pot for Masochists ถ้าแปลไม่ผิดคงแปลว่า กาน้ำของผู้นิยมความเจ็บปวด เป็นยังไงก็คงเข้าใจกันดี ส่วนชิ้นที่สองเป็นกา Nanna ที่ออกแบบโดย michael grave สถาปนิกชื่อดังที่สวยและพอจะใช้งานได้ ส่วนสุดท้ายเป็นกาน้ำที่สุดแสนจะฟังค์ชั่น ของ Ronnefeldt ที่ราวกับว่าถูกออกแบบมาเพื่อความสมบูรณ์แบบในการชงชาชั้นสูงเพราะการใช้งานซับซ้อนกว่ากาธรรมดามากมาก คำถามคือปรกติแล้ว Norman ใช้กาอันไหนบ่อยที่สุด และคำตอบก็คือ ไม่ใช้เลยซักอันเดียว ที่เป็นเช่นนนี้ก็เพราะว่า ตัวเค้าเองต้องดื่มชาทุกเช้าและสิ่งที่เค้าต้องการมากที่สุดก็คือ ประสิทธิภาพ ดังนั้นเค้าจึงใช้กาต้มน้ำไฟฟ้า รินน้ำลงในถ้วยที่มีใบชาอยู่ในลูกบอลกรองชา แค่นี้ก็ได้ดื่มชาร้อนๆที่ง่าย สะดวกรวดเร็ว และทำความสะอาดง่าย แต่กลับกันที่เค้าดันตั้งกาน้ำทั้งสามโชว์ไว้ในที่ที่เห็นชัดที่สุดในบ้าน ทั้งๆที่เค้าไม่ได้ใช้มันเลย ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเค้าให้คุณค่ากับกาน้ำทั้งสามใบไม่ใช่เรื่องประเด็นของการชงชา แต่เป็นประเด็นของความสวยงามที่ประหนึ่งว่าเป็นปฏิมากรรมนั่นเอง จะใช้จริงๆก็คงจะเป็นตอนที่มีแขกคนสำคัญมาที่บ้านและมีเวลา ต้องการจะโชว์จุดเด่นต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องความงามหรือเรื่องการออกแบบที่ชาญฉลาดก็เท่านั้น ใจความสำคัญเลยก็คือ ดีไซน์นั้นมีความสำคัญกับผู้ใช้ก็จริง แต่นั่นขึ้นอยุ่กับ โอกาส บริบทในการใช้งาน และที่สำคัญเหนืออื่นใด ก็คือขึ้นกับอารมณ์และความรู้สึก ณ เวลานั้นของผู้ใช้นั่นเอง แน่นอนว่าของบางชิ้นเราไม่ได้แค่ใช้งานมันอย่างเดียว แต่บางครั้งเรามีความสุขร่วมเมื่อได้ใช้ ได้ทำให้ผู้ใช้คิดไปถึงเรื่องราวต่างๆนานา ในเรื่องของการดีไซน์นั้น ดีไซนเนอร์เองจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ กระบวนการผลิต การตลาด ราคาและความเหมาะสมในการใช้งานด้วย แต่ดีไซน์เนอร์ส่วนใหญ่มักลืมคิดไปว่า สิ่งของต่างๆนั้นล้วนแล้วแต่มีองค์ประกอบของอารมณ์และความรู้สึกที่มันมีต่อผู้ใช้อยู่ด้วยและในหนังสือเล่มนี้ยังกล่าวว่าบางทีองค์ประกอบด้านอารมณ์และความรู้สึกนี้เองที่เป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จของสิ่งของชิ้นนั้นๆในตลาดมากกว่าการใช้งานซะอีก ++ เล่ามาถึงตรงนี้แล้วทำให้ผมคิดถึงคำพูดหนึ่งที่เคยมีกล่าวไว้ในหนังสือรวมผลงานของPhillip Stark ที่เค้ากล่าวไว้ว่า ที่คั้นน้ำส้มสุดดังของเค้านั้นมันใช้งานไม่ค่อยได้หรอก ใช้แล้วมันก็หกเลอะเทอะกระเด็นไปหมด แต่คนที่ซื้อมันมากที่สุดคือลูกเขยที่อยากจะซื้อไว้ตั้งโชว์เพื่อไว้ไว้อวดจะได้มีเรื่องไว้คุยกับเเม่ยายของเค้าเท่านั้นแหละ+++ ดูดูไปก็คงจะจริงอย่างที่ Phillip ว่าไว้

4 comments:

เพนกวิน said...

อ่านแล้วค่ะ

Puvanai Dardarananda said...

แม่ยายอ่านรึยัง?

พี่จุล 66 said...

โชคดีครับผมไม่มีปัญญาซื้อไอ้ที่คั้นน้ำส้มอันนี้เก็บไว้ที่บ้าน ไม่งั๊นต้องคุยกันยาว ฮ่าๆๆ

goldfish said...

ที่คั้นน้ำส้มอันนั้นเท่าที่รู้สึกเวลามองเห็นมันทุกวันๆ(เพราะที่ทำงานเก่ามีอยู่บนโต๊ะ) คือมันไม่ให้ฟิลลิ่งที่จะเป็นอุปกรณ์ทำอาหาร แล้วก้อไม่มีใครใช้มันจริงๆด้วย ที่ในครัวยังใช้ที่คั้นหน้าตาบ้านๆ ส่วนไอ้ของพี่การ์คเนี่ยะอยู่บนหิ้งจนมีอะไรไม่รู้ชึ้นบนหัวแมงมุมเป็นจุดๆด้วย แต่ว่าชอบโคตรๆ ก็มันEMOไง ใช้ไม่เวิร์ค
ใครสน?