Wednesday, July 26, 2006

เพราะ(มัน)สวยกว่า(มัน)เลยเจ๋งกว่า..ซะงั๊น!!!

กลับมาอีกครั้งกับอาทิตย์นี้ หลังจากถูกถล่มด้วยอีเมลและงานดีไซน์ที่มาจนปวดหัววันนี้ก็ได้ฤกษ์ที่ กกต จะเข้าคุก เอ้ย ไม่ใช่ซิ ต้องเป็นฤกษ์ที่จะอัพเดทบล๊อกของเราซักที, จากหนังสือเล่มนี้เค้าได้วางเรื่องของEMO Design ออกเป็นสองส่วนใหญ่ นั่นคือส่วนแรกคือการเรียนรู้ความหมายของสิ่งนั้นนั้น และส่วนที่สองคือขั้นของการฝึกปฏิบัติ ไม่เสียเวลาเรามาเริ่มกันที่ส่วนแรกเลยดีกว่า นั่นก็คือ ความหมายของสิ่งนั้นนั้น เริ่มต้นจากการที่คุณจะต้องรู้หลัก สองคำคือ
1.ของที่ดึงดูด สายตา ดึงดูดความสนใจได้มากกว่า ย่อมมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีกว่า
2.ลักษณะและระดับขึ้นที่หลากหลายของอารมณ์ และการออกแบบ

1.ของที่ดึงดูด สายตา ดึงดูดความสนใจได้มากกว่า ย่อมมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีกว่า (สวยกว่าย่อมเจ๋งกว่า ซะงั๊น..)
เรื่องราวของของสวยๆงามงามมีคนตั้งคำถามมากมายเช่นนักวิทยาศาสตร์อิสราเอล ตั้งข้อสังเกตุว่า "แน่นอนว่าของที่สวยกว่าย่อมได้รับความนิยมมากกว่า แต่เขากลับไม่เข้าใจว่าทำไมของที่สวยกว่าเหล่านั้นจึงเจ๋งกว่า ทำงานได้ดีกว่า" คำตอบนี้ได้รับการทดสอบโดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่น โดยการศึกษาจากเครื่องATM ตามธนาคารสองแบบที่เหมือนกันทุกอย่างในการออกแบบทั้งเลยเอาท์การวางปุ่มกด โปรแกรมและวิธีการใช้งาน จะต่างกันก็คงจะเป็นที่อันหนึงเป็นปุ่มที่ชัดเจน แต่อีกอันเป็นจอ Touch screen ซึ่งก็แน่ละว่าจอที่ว่าย่อมสวยกว่าแบบกดปุ่มเป็นไหนๆ จากการสัมภาษณ์ผู้ใช้ไม่น่าเชื่อเลยว่า ผู้ใช้ตอบตรงกันว่าเครื่องที่เป็นแบบจอทัชกรีนทำงานได้ดีกว่าง่ายกว่าเครื่องที่เป็นปุ่ม ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว ทั้งคู่ต่างมีพื้นฐานการทำงานอย่างเดียวกันและPlatform เดียวกัน
ไม่ว่าเค้าจะทดสอบที่ญี่ปุ่นหรือที่อิสราเอล ที่ที่คนมีแนวความคิดต่างกันไปอย่างไร คำตอบก็ยังเป็นคำเดิมว่า ความสวยงามกับฟังค์ชั่นการใช้งานนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างประหลาดและยากจะคาดเดาหรืออธิบายได้ นักทฤษฎีทางศิลปะบางคนเคยกว่าวว่า มันคงมีปัจัยที่เป็นความลับอะไรบางอย่างที่ทำให้ความสวยงามมีผลต่อความรู้สึกของการใช้งานของมนุษย์แน่นอนและสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นเป็นปรกติวิสัยในชีวิตประจำวันของเราซะด้วย เอาเป็นว่ามาถึงตรงนี้แล้ว เราคงต้องยอมรับแล้วละว่า "ของที่สวยกว่ามันย่อมทำให้รู้สึกว่ามันทำงานได้ดีกว่าเสมอ" แล้วเดี๋ยวผมจะกลับมาเล่าต่อว่า เค้ามีการทดลองและบทสรุปของทฤษฎีนี้ว่าอย่างไร แต่ตอนนี้ผมมีคำถามในใจ ว่าเอ๊ะถ้าเราหล่อกว่านี้เราจะดูเจ๋งกว่าปัจจุบันนี้มั๊ยน๊า ฮ่าๆๆ


3 comments:

เพนกวิน said...

สำหรับคนมันก็ไม่แน่เสมอไปหรอก แต่การที่หน้าตาดีกว่ามันก็ดึงดูดอะไร ๆ ได้มากกว่า แต่ก็ทำให้ยาก และเสียเวลาในการคัดเลือกนะ

goldfish said...

มาเยือนบลอคพี่จุลเป็นครั้งแรก ดีใจที่บลอคพี่จุลเป็นบลอคเกิ๊บดีไซน์จะได้มาร่วมเกิ๊บด้วย เนื่องด้วยบลอคตัวเองนี่ตั้งใจไว้ว่าจะออกจากเรื่องดีไซน์ไปเลย เคยคิดจะเปิดแยกอีกบลอคเป็นบลอคเกิ๊บดีไซน์ แต่เท่าที่มีอยู่แล้ว แทบไม่มีเวลาจะอัพให้ทั่วด้วยซ้ำ พูดถึงเรื่อง emotional design เคยอ่านเล่มนี้และครุ่นคิดกับมันพักนึง ต่อมาก้อมาหมกมุ่นกะ optimum design (naoto fukasawa)ก้อชอบมาก(ไว้มีเวลาจะเอามาให้ช่วยกันถกประเด็นนี้ให้แตกฉาน)ส่วนตอนนี้หันมาทดลองการออกแบบโดยไม่ใช้หัวสมอง แต่ใช้มือและเปิดให้ประสาทสัมผัสไปกับวัสดุ(เนื่องมาจากพักหลังคลุกคลีกับงานคราฟซะมากกว่างานอินดัสเตรียล) ซึงคิดว่าเป็นอีกแนวที่เจ๋งเลย มันบื้อดีแต่ได้อะไรที่น่าสนใจแบบที่เกิดจากการไม่คาดหวัง ไม่กลัวผิด กลัวเสี่ยว และไม่มีอีโก้ในงานที่ตัวเองชอบด้วย

พี่จุล 66 said...

อืม ถ้าอยากแจมกันบนบอร์ดนี้ก็เชิญเลยครับ น้องรหัสผู้มีพระคุณกับพี่ เรามาช่วยกันสร้างวงจรการออกแบบ ให้กับ ดีไซน์เนอร์หลายๆคนได้แลกเปลี่ยนไอเดียกัน